ยุทธศาสตร์ระดับสอศ

ยุทธศาสตร์ ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

  1. ยกระดับคุณภาพผู้เรียนเข้าสู่มาตรฐานสากล
  2. เพิ่มปริมาณผู้เรียนสายอาชีพให้เพียงพอต่อความต้องการของประเทศ
  3. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในการจัดอาชีวศึกษา
  4. เพิ่มประสิทธิภาพบริหารจัดการให้มีมาตรฐานและคุณภาพโดยใช้หลักธรรมาภิบาล

นโยบายการบริหารจัดการอาชีวศึกษา

มิติที่ 1 การสร้างโอกาสทางการศึกษา เรียนฟรีมีงานทำ มีรายได้ระหว่างเรียน

  1. พัฒนาศูนย์อบรมอาชีวศึกษา
  2. เทียบโอนประสบการณ์สายอาชีพจบปวช. ได้ใน 8 เดือน
  3. จัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษา
  4. จัดตั้งและขยายศูนย์ซ่อมสร้าง เพื่อชุมชนFix It Center
  5. ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน สนับสนุน OTOP
  6. ขยายให้มีผู้เรียนอาชีวศึกษาเพิ่มขึ้น
  7. ลดการออกกลางคัน
  8. ขยายโอกาสในการศึกษาด้านอาชีวศึกษาถึงระดับปริญญาตรีสายปฏิบัติการ
  9. สอนวิชาชีพ เพื่อคนพิการในสถานศึกษา
  10. สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาตั้งแต่อนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  11. จัดอาชีวศึกษาและพัฒนาอาชีพ สร้างงานสร้างรายได้ในกลุ่มพื้นที่ชายแดนภาคใต้

มิติที่ 2 การพัฒนาคุณภาพ ปรับการเรียนเปลี่ยนการสอน ปฏิรูปการสอบ ให้ทันกับยุคสมัยอย่างมีคุณภาพ

ด้านคุณภาพผู้เรียน

  1. เร่งยกระดับคุณภาพผู้เรียนให้พร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
  2. ปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
  3. ปรับปรุงหลักสูตรอาชีวศึกษาทุกระดับ
  4. ยกระดับคุณภาพผู้เรียน โดยอิงผลการประเมินระดับชาติ (V - Net) และการประเมินมาตรฐานวิชาชีพ
  5. พัฒนาแนวทางการประเมินผู้เรียนตามสภาพจริง
  6. ร่วมมือกับภาคเอกชน ในการเรียนการสอน และฝึกงานในสถานประกอบการ
  7. พัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้วยกิจกรรมองค์การวิชาชีพ การบริการสังคม จิตอาสาและกีฬา

ด้านคุณภาพสถานศึกษา

  1. พัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน
  2. ยกระดับมาตรฐานสถานศึกษา โดยอิงผลการประเมินของ สมศ.ด้านคุณภาพการเรียนการสอน
  3. วิจัยปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาระบบการเรียนรู้สู่การเป็นผู้ประกอบการ
  4. ส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมของผู้เรียนและผู้สอน
  5. ส่งเสริมนวัตกรรม การจัดการอาชีวศึกษา
    • โรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์(Project Based Learning และการประดิษฐ์คิดค้น)
    • ศึกษาค้นขว้า
    • วิทยาลัยเทคนิคมาบตาพุด (Constructionism)
    • วิทยาลัยการท่องเที่ยวถลาง
  6. จัดการเรียนการสอน English Programและ Mini English Program ด้านอาชีวศึกษา
  7. นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อการเรียนการสอน

ด้านคุณภาพครู

  1. กำหนดมาตรฐานสมรรถนะครูอาชีวศึกษา
  2. พัฒนาครู โดยใช้เครือข่าย/สมาคมวิชาชีพ
  3. พัฒนาระบบนิเทศภายใน
  4. เร่งยกระดับวิทยฐานะ

มิติที่ 3 การสร้างประสิทธิภาพในด้านการบริหารจัดการ การบริหารจัดการเป็นที่ยอมรับเชื่อมั่น มีเอกภาพ ใช้เทคโนโลยีสนับสนุน

  1. พัฒนาระบบฐานข้อมูล สนับสนุนการวางแผนและการพัฒนาคุณภาพ
  2. นำระบบ ICT มาใช้เพื่อการบริหารจัดการ
  3. บริหารงานบุคคล โดยใช้หลักธรรมาภิบาล
    • ดูแลและแก้ปัญหาครูจ้างสอนและใบประกอบวิชาชีพ
    • สร้างขวัญ กำลังใจ และจิตสำนึกในความเป็นเจ้าขององค์กร
  4. ป้องกันและแก้ปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา
  5. จัดสรรงบประมาณ / ทรัพยากรอย่างเหมาะสม
    • ครุภัณฑ์มาตรฐานขั้นพื้นฐาน
    • สถานศึกษาขนาดเล็ก
  6. กระจายอำนาจการบริหารงบประมาณ

มิติที่ 4 ความร่วมมือในการจัดการอาชีวศึกษาเพิ่มทักษะวิชาชีพ ด้วยความร่วมมือในและต่างประเทศ

  1. จัดตั้งกองทุนอาชีวศึกษาเพื่อการพัฒนาและฝึกอบรมวิชาชีพ
  2. เพิ่มการจัดอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีทุกระดับ ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ทั้งในและต่างประเทศ
  3. ขยายความร่วมมือกับภาครัฐและเอกชนในรูปแบบต่างๆ ในการพัฒนานักศึกษา พัฒนาครูพัฒนาการเรียนการสอน
  4. ร่วมกับประเทศในอาเซียน พัฒนาคุณภาพการอาชีวศึกษา

ข้อบัญญัติสู่ความสำเร็จ

  • 'ยึดหลักธรรมมาภิบาล               บริหารงานประจำ
  •  นำภาพลักษณ์ที่ดี                     ใช้เทคโนโลยีบริหาร
  •  ประสานเครือข่าย                      ขยายทวิภาคี
  •  ยึดหน้าที่ด้วยความมุ่งมั่น            หมั่นพัฒนาสมรรถนะอาชีพ
  •  เยี่ยมห้องเรียนสม่ำเสมอทั่วหน้า   พัฒนาบุคลากรสู่ความสำเร็จ'
  1. ใช้เวลาส่วนใหญ่ในสถานศึกษา
  2. พัฒนาครูและองค์กร
  3. เน้นสอนระบบทวิภาคี
  4. นำสิ่งดีดีสู่สังคม
  5. เร่งระดมเรื่องภาพลักษณ์
  6. สร้างคุณภาพเชิงประจักษ์สู่นักศึกษา
  7. พัฒนาโดยใช้(นวตกรรม)เทคโนโลยี
  8. ต้องมีหลักธรรมาภิบาล
  9. เน้นทำงานประสานชุมชน
  10. เร่งรณรงค์สร้างเครือข่ายความร่วมมือ